ศูนย์ข้อมูลและข่าวสารด้านยา
Drug Information center
แหล่งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สารสนเทศเรื่องยา (Drug Informations)
กลุ่มงานเภสัชกรรม รพ.สมุทรสาคร 034-429333 ต่อ 8104 หรือ 8101
ระเบียบปฏิบัติห้องยานอก : OPD
Dispensing
ตั้งแต่ปี 2553 รพ.สมุทรสาครได้เริ่มใช้ HIS เป็น HOSxP มาใช้ในแผนกผู้ป่วยนอก ทางงานบริการเภสัชกรรมผู้ป่วยนอกก็ได้ใช้ HOSxPในการจ่ายยาให้ผู้ป่วย ทำให้เภสัชกรสาาเห็นข้อมูลต่างๆของผู้ป่วย เช่น ค่า Lab ประวัติยาเดิม ค่า Vital sign รวมถึงประวัติยาเดิมของผู้ป่วย ทำให้เภสัชกรสามารถค้นหาปัญหาจากการใช้ยา รวมถึงช่วยส่งเสริมการปฏิบัติหน้าที่จ่ายยาให้เหมาะสมตามความเจ็บป่วยของคนไข้ได้มากยิ่งขึ้น
Prescription screening
เพื่อเป็นการคัดกรองปัญหาจากการสั่งใช้ยา และสามารถค้นหาและป้องกันปัญหาจากการสั่งใช้ยาได้ตั้งแต่ต้นน้ำ เราจึงได้จัดให้มีการไปวิเคราะห์ใบสั่งยาที่ห้องตรวจอายุรกรรม ซึ่งเป็นผู้ป่วยกลุ่มหลักที่มักมีปัญหาที่เกี่ยวข้องกับยา (DRPs) ทำให้เภสัชกรสามารถปรึกษาแพทย์ได้ที่หน้าห้องตรวจ รวมถึงแก้ไขข้อมูลได้ทั้งในใบสั่งยาและ OPD card ไปในคราวเดียวกัน และไม่ต้องเสียเวลากับระบบการเงินอีกด้วย
Medication reconciliation
มีผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยที่มีการใช้ยานอกเหนือจากยารพ.สมุทรสาคร เช่นผู้ป่วยที่ได้ยาจากรพ.อื่น คลินิก ร้านขายยา ยาสมุนไพร ยาหม้อ ยาลูกกลอน ตลอดจนผลิตภัณฑ์เสริมอาหารต่างๆ (ในทีวีเรียกว่า อาหารเสริม) ซึ่งในบางกรณียาเหล่านั้นอาจมีผลเสริมฤทธิ์ หรือต้านฤทธิ์กับยาประจำจนอาจก่อให้เกิดผลเสียร้ายแรงแต่ตัวผู้ป่วยเอง หรือบางครั้งแพทย์ก็ไม่ทราบว่าผู้ป่วยใช้ยาเหล่านั้นอยู่ ทำให้ขาดความต่อเนื่องในการใช้ยาที่จำเป็น ผู้ป่วยจึงควรแจ้งข้อมูลยาที่ใช้อยู่ในปัจจุับันให้ทราบอย่างครบถ้วน เพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าว
Medication errors
ความคลาดเคลื่อนทางยาสามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่การสั่งใช้ยา การคัดลอกคำสั่งใช้ยา การจ่ายยา และการบริหารยาให้แก่ผู้ป่วย ทั้งนี้เราจำเป็นต้องค้นหาความเสี่ยงและป้องกันไม่ให้เกิดความเคลาดเคลื่อนขึ้นเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย แต่หากเกิดความคลาดเคลื่อนขึ้น ระบบรายงานความคลาดเคลื่อนจะเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะรวบรวมข้อมูลมาวิเคราะห์หาสาเหตุและจัดการป้องกันความเสี่ยงนั้นๆ ไม่ให้เกิดขึ้นอีก
การคีย์ยา > 1 แผนก
เนื่องจากเมื่อเดิือน ตค.2559 มีการเปลี่ยนระบบการเปิด visit number (VN) ผู้ป่วยเป็น 1 VN ต่อการตรวจหมอ 1 แผนก
เพื่อป้องกัน ME ที่อาจจะเกิดเมื่อผู้ป่วยได้รับการตรวจรักษาจากหมอมากกว่า 1 แผนก เช่นการได้รับยาไม่ครบ หรือการได้รับยาซ้ำซ้อนกัน ยามี DI ต่อกันเป็นต้น จึงได้กำนดแนวทางการคีย์ข้อมูลยาผ่าน HOSxP มาไว้ดังนี้
MEET DARREN
WESSON
I'm a paragraph. Click here to add your own text and edit me. It’s easy. Just click “Edit Text” or double click me and you can start adding your own content and make changes to the font. Feel free to drag and drop me anywhere you like on your page. I’m a great place for you to tell a story and let your users know a little more about you. Visit my website